วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กติกา บาสเกตบอล

บาสเกตบอล
 
        บาสเกตบอล (อังกฤษ: basketball) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า (basket) ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน
ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ เนสมิท[1] บาสเกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากล กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจากในวายเอ็มซีเอ[1][2] ลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็นกีฬาอาชีพ[ต้องการอ้างอิง] มีการจัดตั้งลีกเอ็นบีเอ (National Basketball Association, NBA) และเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936)[1] ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะในสหรัฐอเมริกา กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
      บาสเกตบอล (อังกฤษ: basketball) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า (basket) ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน
ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ เนสมิท[1] บาสเกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากล กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจากในวายเอ็มซีเอ[1][2] ลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็นกีฬาอาชีพ[ต้องการอ้างอิง] มีการจัดตั้งลีกเอ็นบีเอ (National Basketball Association, NBA) และเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936)[1] ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะในสหรัฐอเมริกา กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
      เกมบาสเกตบอลมีการพัฒนาเทคนิคการเล่นต่าง ๆ เช่น การชู้ต การส่ง และ การเลี้ยงลูก รวมไปถึงตำแหน่งผู้เล่น (ซึ่งตามกฎแล้วไม่จำเป็นต้องมี) และตำแหน่งการยืนในเกมรุกและเกมรับ ผู้เล่นที่ตัวสูงถือเป็นข้อได้เปรียบ ถึงแม้ว่าในการเล่นแข่งขันจะควบคุมโดยกฎกติกา การเล่นรูปแบบอื่น ๆ สำหรับเล่นผ่อนคลายก็มีการคิดขึ้น บาสเกตบอลยังเป็นกีฬาที่คนนิยมดูอีกด้วย
 
 
ไฟล์:Jordan by Lipofsky 16577.jpg
 
 ประวัติ
 
    ยุคแรกของบาสเกตบอล
 
         ความพิเศษอย่างหนึ่งของบาสเกตบอล คือถูกคิดขึ้นโดยคนเพียงคนเดียว ต่างจากกีฬาส่วนใหญ่ที่วิวัฒนาการมาจากกีฬาอีกชนิด ช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2434 ดร. เจมส์ ไนสมิท ครูสอนพละศึกษาชาวอเมริกันที่เกิดในแคนาดา และเป็นผู้ดูแลสถานที่ของวิทยาลัยแห่งหนึ่งของสมาคมวายเอ็มซีเอ (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยสปริงฟิลด์) ในเมืองสปริงฟิลด์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ค้นหาเกมในร่มที่ช่วยให้คนมีกิจกรรมทำระหว่างฤดูหนาวในแถบนิวอิงแลนด์ ว่ากันว่า หลังจากเขาไตร่ตรองหากิจกรรมที่ไม่รุนแรงเกินไปและเหมาะสมกับโรงยิม เขาเขียนกฎพื้นฐานและตอกตะปูติดตะกร้าใส่ลูกพีชเข้ากับผนังโรงยิม[4] เกมแรกที่เล่นเป็นทางการเล่นในโรงยิมวายเอ็มซีเอในเดือนถัดมา คือเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1891) ในสมัยนั้น เล่นโดยใช้ผู้เล่นเก้าคน[5] สนามที่ใช้ก็มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของสนามเอ็นบีเอในปัจจุบัน ชื่อ บาสเกตบอล เป็นชื่อที่เสนอโดยนักเรียนคนหนึ่ง และก็เป็นชื่อที่นิยมมาตั้งแต่ตอนต้น เกมแพร่ขยายไปยังวายเอ็มซีเอที่อื่นทั่วสหรัฐอเมริกา ไม่นานนักก็มีเล่นกันทั่วประเทศ
ไฟล์:Three point shoot.JPG
 
 
 
 กฎและกติกา
 
         กฎเกี่ยวกับขนาดและเวลาที่ใช้แข่ง อาจแตกต่างกันขึ้นกับทัวร์นาเมนต์หรือองค์กรที่จัดการแข่งขัน รายละเอียดในส่วนนี้จะใช้ของสากลและเอ็นบีเอเป็นหลัก
จุดมุ่งหมายของเกมคือ การทำคะแนนให้ได้มากกว่าคู่แข่งโดยการโยนลูกเข้าห่วงของคู่ต่อสู้จากด้านบน ในขณะที่ป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู่โยนลูกลงห่วงของฝ่ายตน การโยนลูกในลักษณะนี้เรียกว่าการชู้ต (หรือช็อต shot) การชู้ตที่เข้าห่วงจะได้สองคะแนน แต่ถ้าผู้ชู้ตอยู่เลยเส้นสามคะแนนออกไปในขณะชู้ตลูกก็จะได้สามคะแนน เส้นสามคะแนนจะอยู่ห่างจากห่วงเป็นระยะ 6.75 เมตร (22 ฟุต 1 3/4 นิ้ว) ในกติกาสากล และ 23 ฟุต 9 นิ้ว (7.24 เมตร) ในกติกาเอ็นบีเอ การชู้ตลูกโทษหรือที่เรียกว่า ฟรีโทรว์ (free throw) เมื่อฟาวล์มีค่าหนึ่งคะแนน






 กติกาการเล่น
 
 
      เกมจะแบ่งการเล่นเป็น 4 ควอเตอร์ (quarter) แต่ละควอเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาวล์ หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง)
ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์ 

     เครื่องแบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และสปอนเซอร์ ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้
แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด
เกมควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวนฟาล์วผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ และช็อตคล็อก
 
ไฟล์:Basketball.jpeg
 
 
 อุปกรณ์การเล่น
 
         อุปกรณ์ที่จำเป็นจริง ๆ ในกีฬาบาสเกตบอลมีเพียงลูกบอลและสนามที่มีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน การเล่นในระดับแข่งขันต้องใช้อุปกรณ์อื่น เช่น นาฬิกา กระดาษบันทึกคะแนน สกอร์บอร์ด โพเซสซันแอร์โรว์ ระบบหยุดนาฬิกาด้วยนกหวีด เป็นต้น
ลูกบาสเกตบอลชายมีเส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว (76 เซนติเมตร) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 5 ออนส์ (600 กรัม) ลูกบาสเกตบอลหญิงมีเส้นรอบวงประมาณ 29 นิ้ว (73 ซม.) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 3 ออนส์ (540 กรัม) สนามบาสเกตบอลมาตรฐานในเกมสากลมีขนาด 28 คูณ 15 เมตร (ประมาณ 92 คูณ 49 ฟุต) ส่วนในเอ็นบีเอมีขนาด 94 คูณ 50 ฟุต (29 คูณ 15 เมตร) พื้นสนามส่วนใหญ่ทำด้วยไม้
ห่วงที่ทำจากเหล็กหล่อ พร้อมทั้งเน็ต และแป้น ติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของสนาม ในการแข่งขันเกือนทุกระดับ ขอบห่วงด้านบนอยู่สูงจากพื้น 10 ฟุต (3.05 เมตร) พอดีและถัดเข้ามาจากเส้นหลัง 4 ฟุต (1.2 เมตร) ถึงแม้ว่าขนาดของสนามและแป้นอาจแตกต่างกันออกไป แต่ความสูงของห่วงถือว่าสำคัญมาก ถึงตำแหน่งจะคลาดเคลื่อนไปไม่เพียงกี่นิ้วก็มีผลต่อการชู้ตอย่างมาก


 
 
 

กติกาบาสเกตบอล 13 ข้อ

 
  1. สามารถโยนลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ
  2. สามารถตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ แต่ต้องไม่ใช้กำปั้น
  3. ห้ามถือลูกบอลวิ่งต้องโยนลูกบอลจากจุดที่ถือลูกบอล ผู้เล่นสามารถวิ่งเพื่อคว้าบอล
  4. ต้องถือลูกบอลด้วยมือ แขนหรือลำตัว ห้ามดึงลูกบอล
  5. ห้ามใช้ไหล่ดัน ผลัก ดึง ตบหรือตี ฝ่ายตรงข้าม หากเกิดการละเมิดให้ถือเป็น ฟาล์ว หาก กระทำซ้ำอีก ถือเป็น ฟาล์วเสียสิทธิ์ จนกว่าจะเกิดการยิงประตูเป็นผลในคราวต่อไป หรือเกิดผู้เล่นบาดเจ็บของผู้เล่นตลอดการแข่งขัน ห้ามเปลี่ยนตัวผู้เล่น
  6. การฟาล์วเป็นการกระแทกลูกบอลด้วยกำปั้นและการผิดระเบียบของกติกาข้อ 3,4 และตาม รายละเอียดตามกติกาข้อ 5
  7. หากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันกระทำฟาล์วติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้นับคะแนน (การฟาล์วติดต่อกัน หมายถึง เป็นการฟาล์วที่ไม่มีการฟาล์วของฝ่ายตรงข้ามคั่นระหว่างการฟาล์วติดต่อนั้น)
  8. เมื่อลูกบอลถูกตี หรือโยนจากพื้นเสข้าประตู ให้นับคะแนน หากลูกบอลค้างก้านห่วงโดยผู้ เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสหรือกระทบประตู ให้นับคะแนน
  9. เมื่อลูกบอลออกนอกสนามให้ส่งบอลเข้าเล่นที่สัมผัสลูกบอลครั้งแรกในกรณี ที่มีผู้คัดค้าน กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) จะโยนบอลเข้าไปในสนาม ผู้เล่น ที่ส่งบอลสามารถใช้เวลาได้ 5 วินาที หากเกินกว่านั้นฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลแทน หากมีการคัดค้านและทำให้การแข่งขัน ล่าช้า กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) สามารถขานฟาล์วเทคนิค
  10. กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) มีหน้าที่ตัดสินและจดบันทึดการฟาล์ว เกิดฟาล์วต่อกัน ครบ 3 ครั้ง ให้แจ้งต่อผู้ตัดสิน (Referee) และสามารถให้ฟาล์วเสียสิทธิ์ ตามกติกาข้อ 5
  11. ผู้ตัดสิน (Referee) มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาด เมื่อลูกบอลเข้าสู่การเล่นในพื้นที่ของเขาและเป็นผู้ จับเวลา ,ให้คะแนนเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล ,จดบันทึกคะแนนและรับผิดชองตามพื้นที่
  12. เวลาการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ๆละ 15 นาที พัก 5 นาที
  13. เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ฝ่ายที่ทำคะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ กรณีมีคะแนนเท่ากันให้ หัวหน้าทีมตกลงกันเพื่อแข่งขันต่อจนกว่ามีฝ่ายใดทำคะแนนได้

    พ.ศ. 2435 เริ่มมีการแข่งขันบาสเกตบอลครั้งแรก ระหว่างนักศึกษากับคณะครู ของวิทยาลัย สปริงฟิล (Springfield College) ผลการแข่งขัน นักศึกษาชนะ 5:1

    พ.ศ. 2435 เริ่มมีการเผยแพร่เข้าไปเล่นในประเทศเม็กซิโก (Mexico) ในปีเดียวกัน Lew Allen of Hartford ได้ประดิษฐ์ประตูทรงกระบอกที่ทำจากเส้นลวดลักษณะคล้ายกับของ Dr.James Naismith ห่วงประตูยังตงติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม
    มีตะแกรงป้องกันลูกบอลสำหรับผู้ชมทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีการจัดทำกระดานหลังแผ่นแรกขึ้น มีขนาด 3.6 เมตร * 1.8 เมตร 
 
 
 

กติกาบาสเกตบอล

   ข้อ 1 การเล่น
ความมุ่งหมาย บาสเกตบอลเป็นการเล่นที่แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 5 คน ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต้องพยายามนำบอลไปโยนลงในห่วงประตูของคู่ต่อสู้

และป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้ครอบครองบอล หรือทำคะแนนได้ ผู้เล่นอาจส่งโยน ตี กลิ้ง หรือเลี้ยงลูกไปทิศทางใดก็ได้ให้ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้

 

     ข้อ 2 อุปกรณ์การเล่น
สนาม ต้องเป็นพื้นราบเรียบหน้าแข็งรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ มีขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 26 เมตร โดยวัดจากริมขอบด้านในของ

เส้นเขตสนาม อาจยาวหรือสั้นกว่านี้ได้ไม่เกิน 2 เมตร ส่วนกว้างจะกว้างหรือแคบกว่านี้ได้ไม่เกิน 1 เมตร

   


       ข้อ 3 เส้นเขตสนาม
สนามเล่นต้องเขียนเส้นให้ชัดเจนบริเวณโดยรอบและต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 1 เมตร เส้นด้านยาวเรียกว่าเส้นข้าง เส้นด้านสั้นเรียกว่าเส้นหลัง
   เส้นเขตสนามให้มีระยะห่างจากผู้ดูอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเส้นเขตสนามห่างจากสิ่งกีดขว้างน้อยกว่า 1 เมตร ให้เขียนเส้นประเข้าไปในสนามอีก 1 เมตรโดยรอบ เส้นเขตสนามนี้ต้องเขียนให้ชัดเจนมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร
 
 
ข้อ 4 วงกลมกลาง
วงกลมกลางต้องมีรัศมียาว 1.80 เมตร และจะต้องเขียนไว้ที่ศูนย์กลางสนามเล่น รัศมีของวงกลมให้วัดถึงขอบนอกและมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนานกับ

เส้นหลัง

ข้อ 5 เส้นกึ่งกลางสนามเขียนเส้นกึ่งกลางสนามขนานกับเส้นหลัง จากจุดกลางของเส้นข้างต่อเส้นกึ่งกลางไปนอกสนาม
ยาวด้านละ 15 เซนติเมตร



 

 

    ข้อ 6 เส้นโยนโทษ
เส้นโยนโทษ ต้องขนานกับเส้นหลัง ห่างจากริมในเส้นหลัง 5.80 เมตร ยาว 3.60 เมตร จุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษต้องอยู่ในแนวเส้น

จุดกึ่งกลางเส้นหลังทั้ง 2 ข้าง

 
 ข้อ 7 เขตกำหนด

 3 วินาที และเขตโยนโทษ
เขตกำหนด 3 วินาที คือ เนื้อที่ที่กำหนดไว้ในสนามระหว่างเส้นหลังที่ลากจากริมนอกเส้นหลัง ซึ่งมีระยะห่างจากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังออกไป

ข้างละ 3 เมตร ไปบรรจบกับปลายเส้นโยนโทษทั้งสองข้าง เขตโยนโทษ คือ เนื้อที่ที่กำหนดไว้ในสนามเล่นโดยเขตครึ่งวงกลมและอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในเขตกำหนด 3 วินาที

เขียนเป็นเส้นประ เส้นข้างของเขตโยนโทษเป็นที่ให้ผู้เล่นยืนระหว่างการโยนโทษโดยช่องแรกห่างจากเส้นหลัง 90 เซนติเมตร ช่องที่ 2 กว้าง 85 เซนติเมตร

เส้นของเขตโยนโทษเขียนออกมานอกเขตโยนโทษยาว 10 เซนติเมตร

 

 

    ข้อ 8 กระดานหลัง

กระดานหลังทั้งสองข้างทำด้วยไม้เนื้อแข็งหนา 3 เซนติเมตร หรือถ้าเป็นวัสดุใสอย่างอื่นที่เหมาะสม ยาว 1.80 เมตร กว้าง 1.20 เมตร

มีผิวหน้าเรียบ ถ้าไม่ใช้วัสดุใสที่ทาด้วยสีขาวโดยรอบเขียนเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร โดยใช้สีตัดกับพื้นขาวของกระดานหลัง เขียนรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ด้วยเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงหลังห่วงประตู วัดริมนอกด้านยาว 59 เซนติเมตร และด้านตั้งยาว 45 เซนติเมตร ริมบนสุดของเส้นด้านฐาน

อยู่ในระดับเดียวกับห่วงประตู กระดานหลังต้องติดตั้งอย่างแข็งแรง ตั้งฉากกับพื้นและขนานกับเส้นหลังขอบล่างสูงจากพื้น 2.75 เมตร จุดกึ่งกลางกระดาน

ตั้งอยู่บนเส้นสมมุติตั้งฉากกับพื้น และห่างจากเส้นหลังเข้ามาในสนาม 1.20 เมตร ฐานที่ตั้งกระดานหลังห่างจากขอบนอกของเส้นหลังอย่างน้อย 40 เซนติเมตร  

 
 

      ข้อ 9 ห่วงประตู
ห่วงประตู ประกอบด้วยห่วงเหล็กและตาข่ายเชือก ห่วงเหล็กต้องเป็นเหล็กแข็งทาสีส้มมีเส้นผ่านศูนย์กลางวัดขอบใน 45 เซนติเมตร ห่วงเหล็กต้องต้อง

ทำด้วยเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 มิลลิเมตร ห่วงเหล็กต้องยึดแน่นกับกระดานหลังให้ได้ระดับ ตามขวาง สูงจากพื้น 3.05 เมตร ขอบในของห่วง

ที่อยู่ใกล้กับกระดานหลังต้องห่างจากหน้ากระดานหลัง 15 เซนติเมตร (ดูรูปภาพหน้าต่อไป)

     ข้อ 10 ลูกบอลวัตถุ ขนาดและน้ำหนัก
ลูกบอลต้องเป็นทรงกลมวัดโดยรอบไม่สั้นกว่า 75 เซนติเมตร และไม่ยาวกว่า 78 เซนติเมตร น้ำหนักไม่น้อยกว่า 600 กรัม

และไม่เกิน 650 กรัม บอลประกอบด้วยยางในหุ้มด้วยหนังหรืวัสดุผสม หรือยางอย่างอื่น ๆ ต้องสูบลม เมื่อปล่อยลงพื้นไม้แข็งจากความสูง 1.80 เมตร

แล้วกระดอนขึ้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร และไม่สูงเกินกว่า 1.40 เมตร

     ข้อ 11 อุปกรณ์เทคนิค
อุปกรณ์เทคนิคต้องมีนาฬิกาจับเวลาอย่างน้อย 2 เรือนสำหรับจับเวลาแข่งขัน 1 เรือน และสำหรับจับเวลานอก 1 เรือน นอกจากนี้ต้องมีเครื่องบอกเวลา 30 วินาที
ใบบันทึกตามกำหนดของสหพันธ์บาสเกตบอลสมัครเล่นระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ให้มีเครื่องอุปกรณ์ที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ในกติกา รวมทั้งป้ายบอกคะแนน ป้ายแจ้งจำนวนฟาวล์ ป้ายฟาวล์ครั้งที่ 1-4 เป็นสีขาว – ดำ

ครั้งที่ 5 เป็นสีแดง 

 


     ข้อ 12 ชุดผู้เล่น
ผู้เล่นชุดหนึ่งมี 10 คน ในชุดหนึ่ง ๆ จะต้องมีหัวหน้าชุดผู้ฝึก และผู้ช่วยผู้ฝึก แต่ในการแข่งขันติดต่อกันมากกว่า 5 เกมส์ อาจจะมีผู้เล่นได้ถึง

12 คน ผู้เล่นทุกคนต้องติดหมายเลขที่เสื้อทั้งด้านหน้าและด้านหลังโดยด้านหน้าต้องสูง 10 เซนติเมตร ด้านหลังสูง 20 เซนติเมตร แต่ละชุดมีหมายเลข

      ข้อ 13 ผู้เล่นออกนอกเขตสนาม
ผู้เล่นจะออกนอกเขตสนามโดยมาได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินไม่ได้ ในระหว่างการแข่งขันประจำตัว 4-15 ผู้เล่นชุดเดียวกันจะใช้หมายเลขซ้ำกันไม่ได้ 

   ข้อ 14 หัวหน้าชุด หน้าที่และอำนาจ
หัวหน้าชุด มีหน้าที่ควบคุมผู้เล่นในชุด และหัวหน้าชุดอาจจะถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการตีความหมาย แต่ต้องกระทำโดยสุภาพ ผู้เล่นอื่นจะติดต่อสอบถาม

เจ้าหน้าที่ไม่ได้ก่อนหัวหน้าชุดจะออกจากสนามต้องแจ้งผู้ตัดสินว่าจะให้ใครทำหน้าที่หัวหน้าชุดแทน


    ข้อ 15 ผู้ฝึก
ผู้ฝึกต้องส่งรายชื่อและหมายเลขประจะตัวของผู้เล่น ชื่อและหมายเลขของหัวหน้าชุด ผู้ฝึกเป็นผู้ขอเวลานอก และเมื่อต้องการจะเปลี่ยนตัวผู้เล่น

ผู้ฝึกจะต้องบอกให้ผู้เล่นไปรายงานตัวต่อผู้บันทึก และพร้อมที่จะลงเล่นได้ทันที หัวหน้าชุดอาจจะทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกได้